รถเข็น (0 ชิ้น)
 
ประชุมวิชาการ 10 ปี สวสส.

เขียนโดย suksala
จันทร์ 02 ธันวาคม 2556 @ 06:53


เรื่อง "แนวรบสุขภาพ: พรมแดนวัฒนธรรมกับการรุกของทุน"
(Frontiers of Health: Cultural Borders and the Dominance of Capital)
วันที่ 6-7 สิงหาคม 2556
สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) 
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ  ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาฯ  และ
สมาคมนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาสยาม (สสมส. Siamese Association of Sociologists and Anthropologists, SASA)
 
จัดการประชุมวิชาการสังคมและสุขภาพ ประจำปี 2556 หัวข้อ “แนวรบสุขภาพ : พรมแดนวัฒนธรรมกับการรุกของทุน” 
เปิดการประชุมด้วยปาฐกถาของ พญ.ซินเทีย หม่อง แพทย์ผู้ก่อตั้งคลินิกแม่ตาวและได้รับรางวัลแมกไซไซ  
พร้อมการแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการในหัวข้อด้านสังคมศาสตร์และสุขภาพ สิทธิของผู้ด้อยโอกาส และทางเลือกสุขภาพในโลกทุนนิยม 
ในวันที่ 6-7 สิงหาคม 2556 ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ
 
"สวสส. ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2545 เพื่อบริหารจัดการความรู้และพัฒนาเครือข่ายการวิจัยด้านสังคมศาสตร์และสุขภาพ 
ตลอดจนการสร้างองค์ความรู้ที่สามารถใช้ขับเคลื่อนนโยบายและสร้างแนวทางปฏิบัติ สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่ให้ความสนใจในมิติของสังคมมากขึ้น 
และในโอกาสครอบรอบ 10 ปี ของการก่อตั้ง สวสส. รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจเรื่องการจัดการระบบสุขภาพข้ามชาติ 
รองรับกับสถานการณ์ของรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่กำลังจะเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ 
โดยการประชุมวิชาการสังคมและสุขภาพ ประจำปี 2556 มีแนวความคิดว่า  
การแพทย์ก้าวหน้าตลอดเวลา แต่ยังมีความเหลื่อมล้ำกันของการเข้าถึงสุขภาพที่ดีอยู่ตามเส้นแบ่งของสังคมและวัฒนธรรม 
ตะเข็บความขัดแย้งของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะคนไร้รัฐ หรือกลุ่มเด็กด้อยโอกาส 
มุ่งให้เห็นถึงความสำคัญของสถานการณ์ทางสังคมกับเรื่องสุขภาพที่ไม่สามารถแยกจากกันได้" 
 
“การประชุมตลอดทั้งสองวัน มีนักวิจัยและนักวิชาการเข้าร่วมการเสวนาอย่างคับคั่ง อาทิ 
ดร.ซินเทีย หม่อง, ศ.สุริชัย หวันเก้ว, ผศ. ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ฯลฯ 
กับหัวข้อเสวนาที่น่าสนใจ เช่น 
* “สิทธิสุขภาพ : พรมแดนวัฒนธรรมกับการระบาดวิทยาของความรุนแรง” 
   เพื่อให้เข้าใจความสำคัญของสิทธิสุขภาพและปัญหาของการดำรงชีวิตข้ามพรมแดนในยุคโลกาภิวัฒน์ 
* “การแพทย์ข้ามพรมแดน-การตลาดข้ามโลกของสุขภาพ” 
   เพื่อให้เข้าใจและรู้เท่าทันต่อการจัดการสุขภาพซึ่งถูกระบบเศรษฐกิจยุคปัจจุบันทำให้กลายเป็นสินค้าและบริการตามกลไกตลาด 
* “ความรู้ท้องถิ่น กับการเปลี่ยนแปลงโลกของสุขภาพในอาเซียน” 
   เพื่อให้เข้าใจถึงการจัดการสุขภาพด้วยความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
   ที่เกิดจากระบบเศรษฐกิจและการค้าข้ามพรมแดนในอาเซียน” 
 
ดร.  นพ.โกมาตร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) กล่าว
 
นอกจากนี้ ภายนอกห้องประชุมยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ อาทิ 
* การแสดงดนตรีและเรื่องราวของชาติพันธุ์ (อาเซียน) โดย อ.อานันท์ นาคคง 
* การจัดแสดงนิทรรศการ “เป็นมา เป็นไป แผนงานวิจัยสังคมและสุขภาพ” 
   สะท้อนให้เห็นถึงการวิจัยและการทำงานด้านสังคมศาสตร์และสุขภาพที่ได้ใช้การศึกษาแบบสหวิทยาการ ทั้งสังคมศาสตร์การแพทย์ มานุษยวิทยา 
   ร่วมกับการทำวิจัยเชิงคุณภาพ  เพื่อสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาเรื่องสุขภาพ  
* นิทรรศการ “ภาพถ่ายภัยพิบัติ” โดย อธิษฐ์ พีระวงศ์เมธา ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ และช่างภาพสารคดีระดับแนวหน้าของประเทศไทย 
   ที่ได้รวบรวมภาพถ่ายจากเหตุการณ์ภัยพิบัติในหลายพื้นที่ ได้แก่ เหตุการณ์พายุไซโคลนนาร์กิสที่เมียร์มา ปี 2551
   เหตุการณ์สึนามิที่ญี่ปุ่น ปี 2555   และเหตุการณ์มหาอุทกภัยในประเทศไทย ปี 2554 มาจัดแสดงไว้ในงาน

ที่มา : http://www.hfocus.org/content/2013/08/4256
 

* ชมภาพเพิ่มเติมที่ www.facebook.com/pages/สนพ-สุขศาลา

 

************************************************************
 


ภาพประชุมวิชาการครั้งประวัติศาสตร์ ประจำปี 2558
ภาพมอบรางวัล เรื่องเล่างานบันดาลใจ 2558
ภาพการประชุมวิชาการ สังคมและสุขภาพ 2557
พิธีไหว้ครูแพทย์แผนไทยประจำปี 2557
ดูทั้งหมด »
E-Mail

รหัสผ่าน

จดจำการล๊อคอิน

สมัครสมาชิก ลืมรหัสผ่าน