รถเข็น (0 ชิ้น)
 
ประกวดนวัตกรรมส่งเสริมระบบบริการปฐมภูมิ

เขียนโดย
จันทร์ 08 ธันวาคม 2551 @ 08:29


เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมสุขภาพร่วมกันระหว่างเครือข่ายคนทำงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การประดิษฐ์นวัตกรรมสุขภาพใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับแต่ละบริบทการทำงานในระบบบริการปฐมภูมิ เกิดตัวอย่างรูปธรรมของเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่หลากหลายสำหรับคนทำงานปฐมภูมิ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทการทำงานแต่ละพื้นที่

 

โครงการนวัตกรรมส่งเสริมระบบบริการปฐมภูมิ

1.  หลักการและเหตุผล
          ระบบบริการปฐมภูมิมีจุดเด่นอยู่ที่การดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม ให้บริการแบบผสมผสาน  ต่อเนื่อง โดยมีการทำงานร่วมกับชุมชน รวมทั้งเป็นระบบบริการที่เน้นการทำงานเชิงรุก ระบบบริการปฐมภูมิมีปรัชญาแนวคิดที่เน้นความใส่ใจและการดูแลรักษาร่วมกันระหว่างบุคลากรระบบบริการปฐมภูมิกับบุคคล  ครอบครัวและชุมชน รวมทั้งการประสานงานเชื่อมโยงกับหน่วยงานบริการอื่น ๆ และการส่งต่อผู้ป่วยไปรับบริการที่เหมาะสม แม้ว่าแนวคิดดังกล่าวจะเป็นที่ยอมรับ แต่การแปลแนวคิดหลักการเชิงนามธรรมของระบบบริการปฐมภูมิเป็นปฏิบัติการยังเป็นไปอย่างจำกัด เหตุผลสำคัญเพราะเจ้าหน้าที่ขาดตัวอย่างรูปธรรมที่จะช่วยในการคิดค้นสร้างสรรค์การทำงานและเรียนรู้วิถีชีวิตในชุมชน นอกจากนั้น การขาดตัวอย่างรูปธรรมที่ดียังทำให้คุณค่าของงานปฐมภูมิไม่เป็นที่รับรู้อย่างเด่นชัด ทำให้คนทำงานขาดแรงบันดาลใจและไม่เห็นคุณค่าของงานที่ทำ
          การสร้างระบบบริการปฐมภูมิให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องแปลแนวคิดสำคัญสู่การพัฒนาตัวอย่างรูปธรรมการทำงานให้เพิ่มมากขึ้น และพัฒนานวัตกรรมสุขภาพใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับการทำงานในแต่ละบริบท  เพื่อนำมาเป็นตัวอย่างในการคิดค้นสร้างสรรค์การทำงานในพื้นที่รวมทั้งเป็นการสะสมรูปแบบนวัตกรรมที่หลากหลาย  การเปิดพื้นที่ให้มีการพัฒนาและนำเสนอนวัตกรรมสุขภาพในระบบบริการปฐมภูมิจึงมีความสำคัญ นวัตกรรมที่เกิดขึ้นจะช่วยให้ระบบบริการปฐมภูมิมีตัวอย่างการเรียนรู้ที่หลากหลาย  เหมาะสมกับสภาพการทำงานในชุมชนซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ สามารถนำมาเป็นทุนการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อสร้างคุณค่า สร้างมุมมอง สร้างเอกลักษณ์ให้กับการทำงานในระบบบริการปฐมภูมิ ทั้งทางสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชน
          เพื่อให้เกิดการพัฒนา สนับสนุน และเผยแพร่นวัตกรรมสุขภาพต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์กับหน่วยงานบริการปฐมภูมิ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงได้ดำเนินโครงการให้มีการนำเสนอหรือจัดแสดงนวัตกรรมสุขภาพ เพื่อเปิดกว้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเครือข่ายคนทำงานบริการปฐมภูมิ ตลอดจนเกิดการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ในการประดิษฐ์นวัตกรรมสุขภาพใหม่ ๆ ให้สามารถประยุกต์ใช้งานได้ดีสอดคล้องกับแต่ละบริบทการทำงาน และเป็นตัวอย่างรูปธรรมที่หลากหลายให้กับคนทำงานบริการปฐมภูมิ รวมทั้งเป็นการสร้างคุณค่า เปลี่ยนแปลงมุมมองภาพลักษณ์ให้กับระบบบริการปฐมภูมิ

2.  วัตถุประสงค์
       2.1  เพื่อเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมสุขภาพร่วมกันระหว่างเครือข่ายคนทำงานระบบบริการปฐมภูมิ
       2.2  เพื่อให้เกิดการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์  การประดิษฐ์นวัตกรรมสุขภาพใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับแต่ละบริบทการทำ
               งานในระบบบริการปฐมภูมิ 
       2.3  เพื่อให้เกิดตัวอย่างรูปธรรมของเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่หลากหลายสำหรับคนทำงานปฐมภูมิ  นำไปใช้คิดต่อ ปรับ
               ประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทการทำงานแต่ละพื้นที่
      
3.  การดำเนินโครงการและกิจกรรม
       เพื่อให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ จึงได้กำหนดแผนงานแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน  ดังนี้
       
       กิจกรรมขั้นตอนที่  1  ดำเนินการคัดเลือกนวัตกรรมสุขภาพและประชาสัมพันธ์
       1.1)  จัดตั้งคณะกรรมการการคัดเลือกนวัตกรรมประกอบด้วยบุคลากรจากหลายฝ่าย เช่น  บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีความรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับนวัตกรรมสุขภาพ นักวิชาการด้านการแพทย์ สาธารณสุข และด้านสังคม
       1.2)  ประชาสัมพันธ์โครงการตามสื่อต่าง ๆ เช่น นิตยสารสุขศาลา เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง และ
ประชาสัมพันธ์ไปที่หน่วยงานต้นสังกัด
       1.3)  รับสมัครผลงานที่เป็นนวัตกรรมสุขภาพจากหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
              1.3.1  นวัตกรรมเชิงระบบการบริหารจัดการและการให้บริการสุขภาพ 
              1.3.2  นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์
       1.4)  คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกนวัตกรรมที่ส่งเข้าร่วมโครงการ
       
       กิจกรรมขั้นตอนที่  2  จัดเวทีแสดงนวัตกรรมและเอกสารเผยแพร่
               2.1)  จัดเวทีแสดงนวัตกรรมจำนวน 300 ชิ้น ที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกทั้ง 2 ประเภท ในงาน  “Community Health & Primary Care Expo 2009”
                2.2)  พิมพ์เอกสารเผยแพร่ผลงานนวัตกรรมสุขภาพ  

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
       7.1  เกิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมสุขภาพร่วมกันระหว่างเครือข่ายคนทำงานระบบบริการปฐมภูมิ
       7.2  เปิดมุมมองใหม่ๆ  ในการทำงานด้านการบริหารจัดการและพัฒนาระบบบริการสุขภาพ  รวมทั้งการคิดประดิษฐ์
               นวัตกรรมสุขภาพใหม่ๆ  ที่นำมาใช้ในงานบริการปฐมภูมิ
       7.3  เกิดตัวอย่างรูปธรรมที่หลากหลายที่เกิดจากการแปลแนวคิดสำคัญของบริการปฐมภูมิสู่ปฏิบัติการการทำงานจริง 
               เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือคนทำงานนำไปใช้พัฒนางานระบบบริการปฐมภูมิ
        
รายละเอียดของนวัตกรรมระบบบริการปฐมภูมิ  สามารถแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  ดังนี้
1.  นวัตกรรมเชิงระบบการบริหารจัดการและการให้บริการสุขภาพ  มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
       >  นวัตกรรมด้านการบริหารงาน
           * นวัตกรรมด้านบริหารทรัพยากรบุคคล หรือการบริหารทีมงานระบบบริการปฐมภูมิ  เช่น  วิธีการหรือเทคนิคในการ
              บริหารทรัพยากรบุคคล/ทีม ฯลฯ 
           * นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการงานปฐมภูมิ คือ เทคนิค/วิธีการ การบริหารจัดการในหน่วยงาน เช่น การบริหาร
              ระบบข้อมูล ข่าวสาร โมเดลการบริหารจัดการงานต่าง ๆ การบริหารจัดการวัสดุครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องมือในการ
              ทำงาน ฯลฯ
           * นวัตกรรมด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในงานระบบบริการปฐมภูมิ เช่น ทีมสหวิชาชีพ, อาสาสมัครสุขภาพ, ผู้นำ
             ชุมชน, ผู้นำศาสนา  ฯลฯ
       >  นวัตกรรมด้านการบริการสุขภาพ
           * นวัตกรรมด้านบริการสุขภาพ  เช่น  ระบบการดูแลรักษา,ช่องทางด่วนปฐมภูมิ,ระบบการส่งต่อผู้ป่วย  ฯลฯ
2. นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์  มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
       เป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยในการพัฒนางานประจำและทำให้งานประจำสนุก  มีสีสัน  ตลอดจนเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นใหม่หรือดัดแปลงและพัฒนาปรับปรุงจากอุปกรณ์เครื่องมือการทำงานเดิม  และไปพัฒนาเป็นนวัตกรรมชิ้นใหม่  และใช้งานได้จริงตามวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์  โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
       >  สิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นใหม่
       >  สิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขขึ้นใหม่จากอุปกรณ์เครื่องมือการทำงานเดิม

หลักเกณฑ์การส่งนวัตกรรมเข้าร่วมโครงการ

1. ผู้ส่งนวัตกรรมสุขภาพเข้าร่วมการพิจารณาคัดเลือกต้องเป็นบุคลากรหรือหน่วยงานสาธารณสุขเท่านั้น การส่งนวัตกรรมเข้า
    ร่วมโครงการต้องส่งในนามของ CUP (Contracting Unit for Primary Care) และสามารถส่งได้ไม่เกิน 3 ชิ้นผลงานต่อ
    หนึ่ง CUP
2. ผลงานนวัตกรรมสุขภาพที่ส่งเข้าร่วมการพิจารณาเพื่อจัดแสดงจะต้องครอบคลุมใน 2 ประเภทหลัก คือ ประเภทที่
       2.1) นวัตกรรมสุขภาพเชิงระบบการบริหารจัดการและการให้บริการสุขภาพ หรือประเภทที่ 
       2.2) นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ โดยต้องเป็นนวัตกรรมสุขภาพที่ช่วยในการพัฒนางานประจำ มีความคิดสร้างสรรค์และมีพลัง
               ดึงดูดให้ผู้คนสนใจ รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการคิดประดิษฐ์และพัฒนานวัตกรรมสุขภาพหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมใน
               ระบบบริการปฐมภูมิต่อไป
3. สรุปรายละเอียดของนวัตกรรมเป็นเอกสารโดยสังเขป ความยาวไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ A4
4. ผู้ส่งนวัตกรรมเข้าร่วมแสดงจะต้องกรอกรายละเอียดชื่อ-นามสกุล หรือหน่วยงาน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ให้ครบ
    ถ้วน ชัดเจน
5. นวัตกรรมอาจเคยได้รับคัดเลือกหรือประกวดในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หรือระดับเขตมาก่อนได้
6. ผู้ส่งนวัตกรรมเข้าร่วมโครงการหรือหน่วยงานยินดีปฏิบัติตามกติกาตามที่ระบุข้างต้นทุกประการ
7. การคัดเลือกของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุดการรับสมัครและประกาศผลนวัตกรรมที่ได้รับคัดเลือก
       >  เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนถึง 30 พฤศจิกายน 2551
       >  นวัตกรรมที่ได้รับการคัดเลือกจะแจ้งผลให้ทราบในเดือนธันวาคม 2551 ทาง www.shi.or.th และทางโทรศัพท์
       >  นวัตกรรมที่ได้รับคัดเลือกจะนำไปจัดแสดงในงาน “Community Health & Primary Care Expo 2009” 
           ในวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2552 เวทีระดับชาติของคนทำงานสุขภาพปฐมภูมิ พร้อมรับรางวัล โล่เกียรติยศ 
           และประกาศนียบัตร
       >  ทางคณะผู้จัดงานจะสนับสนุนงบประมาณการจัดแสดง
       >  ผู้เข้าร่วมนำเสนอนวัตกรรมไม่เสียค่าลงทะเบียนเข้างาน (ส่วนค่าที่พักและค่าเดินทางเบิกจากทางต้นสังกัด)
       >  นวัตกรรมที่ได้รับการคัดเลือกจัดแสดงจะนำไปพิมพ์เอกสารเผยแพร่ผลงานนวัตกรรม และลงในนิตยสารสุขศาลา
           นิตยสารเพื่อคนทำงานสุขภาพปฐมภูมิ

 

 



โครงการและแผนงานต่างๆของ สวสส.
๑ คนยืนหยัด ๑ ศตวรรษ เสม พริ้งพวงแก้ว
เอกสารและสื่อ งานมหกรรมสุขภาพชุมชน 2552
โครงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้เครื่องมือวิถีชุมชน
ดูทั้งหมด »
 

 i_urai


บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1 ขอข้อมูลนวตกรรมสุขภาพที่เคยได้รับคัดเลือก
สนใจอยากได้ตัวอย่างการทำนวัตกรรมสุขภาพ1เรื่องที่ชนะการประกวดเพื่อศึกษาแนวทางในการทำ ขอขอบคุณ
ผู้โพสต์ : i_urai [Wed, 07 Jan 2009 09:37 119.42.69.181]
 
หน้า : 1
E-Mail

รหัสผ่าน

จดจำการล๊อคอิน

สมัครสมาชิก ลืมรหัสผ่าน