รถเข็น (0 ชิ้น)
 
เชิญร่วมศุกร์เสวนา "มานุษยวิทยาการแพทย์ใน ศตวรรษที่ 21"

เขียนโดย
จันทร์ 18 กันยายม 2560 @ 09:06


เริ่มต้น 22 กันยายน ถึง 6 พฤศจิกายน 2560
อ่านรายละเอียดและลงทะเบียนสำรองที่นั่งได้แล้ววันนี้ ที่นี่..


ศุกร์เสวนา มานุษยวิทยาการแพทย์ในศตวรรษที่ 21
 
       ในฐานะสาขาวิชาหนึ่ง มานุษยวิทยาการแพทย์มีพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงทั้งแนวคิดทฤษฎีและประเด็นการศึกษามาโดยตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา จากสาขาวิชาที่เราอาจจะถือได้ว่าเป็นวิชาการประยุกต์และอยู่บริเวณชายขอบของสาขามานุษยวิทยา ปัจจุบันกลายเป็นสาขาวิชาหลักหรือสาขาวิชาย่อยที่สำคัญที่สุดสาขาหนึ่งของมานุษยวิทยาก็ว่าได้ พัฒนาการดังกล่าวแยกไม่ออกจากบริบทความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า 
       มานุษยวิทยาการแพทย์ยุคปัจจุบัน แม้จะยังศึกษาประเด็นการศึกษาเดิมเหมือนกับที่นักมานุษยวิทยาการแพทย์ยุคบุกเบิกให้ความสนใจ เช่น ระบบการแพทย์และระบบการดูแลผู้ป่วยในแต่ละวัฒนธรรม ภาพตัวแทนความเจ็บป่วยที่แตกต่างกันระหว่างแพทย์กับคนไข้ ประสบการณ์ความเจ็บป่วย การประกอบสร้างความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ สิทธิมนุษยชนกับความเท่าเทียมสุขภาพ ความหมายและชีวิตทางสังคมของเทคโนโลยีทางการแพทย์เมื่อถูกดำเนินการในระดับท้องถิ่น เช่น ยา วัคซีน เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาการแพทย์ยุคร่วมสมัย แตกต่างจากนักมานุษยวิทยาการแพทย์ยุคก่อนหน้า ในแง่ที่ว่าพยายามมองหาแนวทางใหม่ที่ท้าทายและพัฒนาแนวคิดทฤษฎีที่ร่วมสมัยทั้งเพื่อหนีจากจารีตวิธีคิดของปรัชญาตะวันตกที่ครอบงำญาณวิทยาและภววิทยาการศึกษาทางมานุษยวิทยา กระแสสายธารปรัชญาของสำนักคิดหลังโครงสร้างนิยมที่ให้ความสำคัญกับอำนาจของ “ภาษา” หรือ “วาทกรรม” ซึ่งมีอิทธิพลต่อการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา และเพื่อช่วยให้เข้าใจปรากฏการณ์อำนาจของเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าอย่างมากมายมหาศาล ที่มีพลังขับเคลื่อนชีวิตทางสังคมของผู้คนยุคร่วมสมัย 

       ศุกร์เสวนา “มานุษยวิทยาการแพทย์ในศตวรรษที่ 21” มีเป้าหมายสำคัญเพื่อทำความเข้าใจแนวคิดทฤษฎีร่วมสมัย กรณีตัวอย่างงานศึกษา และระเบียบวิธีการศึกษาทางมานุษยวิทยาการแพทย์ยุคร่วมสมัย โดยเฉพาะทิศทางการศึกษาใหม่ของมานุษยวิทยาการแพทย์ที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสสำนักคิดที่ตั้งคำถามต่อ “ภววิทยา” (Ontological turn) ของปรัชญาตะวันตกที่แยกระหว่างธรรมชาติกับวัฒนธรรม (Nature/Culture) มนุษย์กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ (Human/Nonhuman) ปฏิบัติการของอำนาจชีวญาณ (Biopolitics) ยุคปัจจุบันของเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าที่มีลักษณะแตกต่างจากอำนาจชีวญาณในปลายศตวรรษที่ 17 และตัวอย่างงานศึกษาของกระแสความคิดที่วิพากษ์อุดมการณ์ทางการเมืองของระบอบเสรีนิยมใหม่ที่ขับเคลื่อนชีวิตผู้คนที่มาในนามมนุษยธรรม ศีลธรรม และจริยธรรม รวมทั้งระเบียบวิธีการศึกษาที่สลายวิธีคิด “มนุษย์เป็นสัตว์ยกเว้น” (Human exceptionalism) ซึ่งมองว่ามีแต่มนุษย์เท่านั้นที่มีวัฒนธรรม เช่น หลากสายพันธุ์นิพนธ์ (Multispecies Ethnography) 


 
เนื่องจากศุกร์เสวนา ชุด “มานุษยวิทยาการแพทย์ในศตวรรษที่ 21” เป็นการเสวนารูปแบบ Reading group
 ผู้สนใจเข้าร่วมงานเสวนาทุกท่าน โปรดอ่านเอกสารประกอบมาล่วงหน้า 
เพื่อนำประเด็นจากการอ่านมาร่วมแลกเปลี่ยนกันภายในวงเสวนา

************************

 ศุกร์เสวนา "มานุษยวิทยาการแพทย์ในศตวรรษที่ 21ประกอบด้วยหัวข้อเสวนาย่อย “5 ครั้ง” ดังนี้

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ครั้งที่ 1 : วันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2560  (เวลา 13.30 - 16.30 น.)
หัวข้อ "Ontological Turn and Material-Semiotics"


เอกสารอ่านประกอบ
บทความหลัก
- โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. 2017. มานุษยวิทยาการแพทย์ในศตวรรษที่ 21. ปาฐกถาการประชุมวิชาการทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 12. วันที่ 21 มิถุนายน ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

- Annemarie Mol. 1999. Ontological politics:  A word and some questions. The Sociological Review. 47 (14): 74-89.

Margaret Lock. 2001. The tempering of medical anthropology: troubling natural categories. Medical Anthropology Quarterly. 15 (4): 478-492.

- โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2559). ศาสตร์-อศาสตร์: มานุษยวิทยา ณ จุดเปลี่ยนทางภววิทยา.ใน ศาสตร์-อศาสตร์ เข้ามาข้างนอก ออกไปข้างใน, บรรณาธิการโดย จันทนี เจริญศรี, 117-140. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พารากราฟ.


บทความแนะนำ
Frank Heuts and Annemarie Mol. 2013. What is a good tomato?  A case of valuing in practice. Valuation Studies. 1 (2): 125-146.


Graeber, David (2015) Radical alterity is just another way of saying “reality”: a reply to Eduardo Viveiros de Castro. Journal of Ethnographic Theory, 5 (2). pp. 1-41.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ครั้งที่ 2 : วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2560  (เวลา 13.30 - 16.30 น.)
หัวข้อ "ANT (Actor Network Theory) and STS (Science and Technology Studies)"


เอกสารอ่านประกอบ

บทความหลัก
Bruno Latour. 2005. Reassembling the Social: An Introduction to Actor-Network-Theory. Oxford: Oxford University Press.

Alex Nading. 2016. Evidentiary symbiosis: On Paraethnography in Human-Microbe relations. Science as Culture. 25 (4): 1-22

บทความแนะนำ
Bruno Latour. 1996. On Actor-Network Theory: a few clarification plus more than a few complications. Soziale Welt. 47 (4): 369-381.

Bruno Latour. 1999. On recalling ANT. The Sociological Review. 47 (14): 15-25.

John Law. 1999. After ANT: complexity, naming and topology. The Sociological Review. 47 (14): 1-14.

John Law. 2017. STS as Method. In Ulrike Felt, Rayvon Fouche, Clark A. Miller, Laurel Smith-Doerr (eds.) The handbook of science and technology studies. Cambridge MA: MIT press.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ครั้งที่ 3 : วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2560  (เวลา 13.30 - 16.30 น.)
หัวข้อ "Global Assemblage and Bio-(Politics)"


เอกสารอ่านประกอบ
บทความหลัก
Aihwa Ong and Stephen J. Collier. 2005. Global Assemblages Anthropological Problems. Global Assemblages: Technology, Politics, and Ethics as Anthropological Problems. Oxford: Malden, MA: Blackwell Pub.


Nikolas Rose. 2001. The politics of life itself. Theory, Culture and Society. 18 (6): 1-30.

Deborah Heath, Rayna Rapp, and Karen-Sue Taussig. (2007). Genetic citizenship. In David Nugent and Joan Vincent (Eds). A companion to the anthropology of politics. Malden, MA: Blackwell.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ครั้งที่ 4 : วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม 2560  (เวลา 13.30 - 16.30 น.)
หัวข้อ "Multispecies and Posthumanism"


เอกสารอ่านประกอบ

บทความหลัก
- Donna Haraway. 2003. The companion species manifesto: dogs, people, and significant otherness. Chicago: Prickly Paradigm Press.

Heather Paxson. 2008. Post-Pasteurian cultures: the Microbiopolitics of Raw-Milk Cheese in the United State. Cultural Anthropology. 23(1): 15-47.

Anna Lowenhaupt Tsing. 2014. Strathern beyond the human: testimony of a spore. Theory, Culture and Society. 31 (2/3): 221-241.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ครั้งที่ 5 : วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2560  (เวลา 13.30 - 16.30 น.)
หัวข้อ "Anthropology of Morality and Care" 


เอกสารอ่านประกอบ

บทความหลัก
- Sherry B. Ortner. 2016. Dark anthropology and its others: theory since the eighties. Journal of Ethnographic Theory. 6 (1): 47-73.

- Didier Fassin. 2012. Introduction: Toward a critical moral anthropology. In Didier Fassin (ed.). A companion to moral anthropology. Malden: Wiley-Blackwell.


- Iain Wilkinson and Arthur Kleinman. 2016. A Passion for Society: How We Think about Human Suffering. California: University of California Press. (Introduction , Chapter 6: Caregiving)


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

** ดำเนินรายการเสวนาโดย ดร. นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์  (ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ)**

สถานที่จัดงาน 
ห้องประชุมสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ ชั้น 3 อาคารคลังพัสดุ ซอยสาธารณสุข 6 กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี 
(ดูแผนที่ 
Click)
 
สอบถามข้อมูล โทร. 0 2590 1352 , 0 2590 2375
ฟรี! ตลอดทั้งงาน ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ >> ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน CLICK!



รับสมัครเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป จำนวน 1 อัตรา
ขอเชิญผู้ที่สนใจ เข้าร่วมฟัง Facebook Live เรื่อง Narratives for Knowledge Management เรื่องเล่าเพื่อการจัดการความรู้ในวิกฤตโรคระบาด
ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมวันครบรอบ 2 ปี หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ
ขอเชิญร่วมพิธีไหว้ครูหมอไทย ตระกูลแพทยานนท์ ประจำปี 2563
ดูทั้งหมด »
E-Mail

รหัสผ่าน

จดจำการล๊อคอิน

สมัครสมาชิก ลืมรหัสผ่าน