รถเข็น (0 ชิ้น)
 
การประชุมเชิงปฏิบัติการมิติสังคมวัฒนธรรมของความเสี่ยงสุขภาพ

เขียนโดย
จันทร์ 10 กันยายม 2561 @ 02:59


เชิญร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการมิติสังคมวัฒนธรรมของความเสี่ยงสุขภาพ
ระหว่างวันที่ 1-3 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร


       แผนงานวัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการมิติสังคมวัฒนธรรมของความเสี่ยงสุขภาพ วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ แนวคิดทฤษฎี ตัวอย่างงานศึกษาวิจัย และเครื่องมือการทำงานที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สุขภาพ อาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย และเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน เข้าใจมิติสังคมวัฒนธรรมของความเสี่ยงสุขภาพ ในการประชุมประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้ 

       - ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “วัฒนธรรมกับการพัฒนาแผนงานโครงการด้านสุขภาพ: บทเรียนจากโครงการถุงยางอนามัย 100 เปอร์เซ็นต์" โดย นพ.วิวัฒน์ โรจนพิพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

        - การเสวนาในหัวข้อ “บริบทความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในสังคมไทยกับความเสี่ยงสุขภาพ” ซึ่งประกอบด้วยประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่ 1) ความเป็นเมือง (Urbanization) 2) สังคมยุคหลังชาวนา (Post peasant society) 3) สื่อกับความเสี่ยงสุขภาพ และ 4) สังคมผู้สูงอายุ (Aging society)” โดยเนื้อหาสำคัญจะนำเสนอให้เห็นว่าบริบทความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในสังคมไทย ทำให้ลักษณะประชากรกลุ่มเสี่ยง (Persona 0f risk group) และรูปแบบพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพแตกต่างจากยุคก่อนหน้าอย่างไร

       - การนำเสนองานวิจัย "การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ 4 ความเสี่ยงสุขภาพ" ได้แก่ แอลกอฮอล์ บุหรี่ ยาเสพติด และโรคในกลุ่ม NCDs เพื่อชี้ให้เห็นว่าอุปสรรคในการดำเนินนโยบาย 4 ความเสี่ยงสุขภาพที่ผ่านมา ทั้งในระดับผู้กำหนดนโยบาย และผู้ปฏิบัติงานคืออะไร

       - กิจกรรม World café เพื่อถ่ายทอดบทเรียนประสบการณ์การทำวิจัยเชิงคุณภาพ ในประเด็นวัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ (แอลกอฮอล์ บุหรี่ ยาเสพติด และอุบัติเหตุ) โดยนักวิจัยวัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ

       - การเสวนา “พลวัตการทำงานความเสี่ยงสุขภาพ: ประสบการณ์จากพื้นที่” โดยมีประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ 1) สังคมผู้สูงอายุกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2) พลวัตการเปลี่ยนแปลงชนบทกับงานควบคุมโรคติดต่อ 3) สื่อรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในยุคข้อมูลข่าวสาร และ 4) ระบาดวิทยา สุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยงในเขตเมือง โดยเนื้อหาสำคัญจะนำเสนอ การทำงานของเจ้าหน้าที่สุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ภายหลังเกิดพลวัตการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

       -  การเปิดตัวหนังสือ “ระบาดวิทยาวัฒนธรรม” ที่มีเนื้อหาสำคัญในการทำความเข้าใจมิติสังคมวัฒนธรรมของความเสี่ยงสุขภาพ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านความเสี่ยงสุขภาพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการออกมาตรการสุขภาพได้

       - การอบรมหลักสูตร “ระบาดวิทยาวัฒนธรรม” จะนำเสนอแนวคิดสำคัญทางสังคมวัฒนธรรม ที่จะช่วยในการทำความเข้าใจเงื่อนไขและบริบทของชีวิตที่ทำให้คนมีพฤติกรรมเสี่ยง 

       - การนำเสนอ “บทเรียนและกรณีตัวอย่าง การประยุกต์มิติทางสังคมวัฒนธรรมในการออกแบบแผนงานด้านสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพ” โดยจะยกตัวอย่างมาตรการสุขภาพที่เป็นรูปธรรมในต่างประเทศที่มีการนำเอามิติทางสังคมวัฒนธรรมไปใช้ในการออกแบบ

        - กิจกรรม Workshop “แผนที่วัฒนธรรมของความเสี่ยงสุขภาพ” (Cultural Mapping of Health Risks) จะนำเสนอเครื่องมือในการทำงานที่เรียกว่า แผนที่วัฒนธรรมของความเสี่ยงสุขภาพ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าหน้าที่สุขภาพเข้าใจลักษณะกลุ่มเสี่ยงในปัจจุบัน 

** โดยในงานผู้เข้าร่วมประชุมจะได้รับหนังสือฟรี เป็นหนังสือซีรีส์ชุด “วัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ” ได้แก่ 1) ระบาดวิทยาวัฒนธรรม 2) รวมบทความนักวิจัยวัฒนธรรมความเสี่ยงสุขภาพ และ 3) การทำวิจัยเชิงคุณภาพในประเด็นวัฒนธรรมกับพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพ  

>> ดาวน์โหลด "กำหนดการประชุม"

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม >> Click!
(เปิดรับลงทะเบียนตั้งแต่ วันที่ 10 - 21 กันยายน 2561 รับจำนวนจำกัด)
**(ไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายใดๆจากผู้จัดประชุม)**

**ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่.. คุณสุจิตรา โทร. 099 132 7068 หรือ 02 590 1352



รวมบทความประกอบการประชุมวิชาการออนไลน์ “การดื้อยาต้านจุลชีพ: มิติทางสังคมของการใช้ยา”
ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาวิชาการ “การดื้อยาต้านจุลชีพ: มิติทางสังคมของการใช้ยา”
หนังสือจดหมายเหตุ COVID-19 รวมพลัง ร่วมใจ ฝ่าภัยวิกฤต (ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2563)
สไลด์ประกอบการอบรม "โครงการวิถีชุมชน เครื่องมือ 7 ชิ้น"
ดูทั้งหมด »
E-Mail

รหัสผ่าน

จดจำการล๊อคอิน

สมัครสมาชิก ลืมรหัสผ่าน