รถเข็น (0 ชิ้น)
 
การประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนสถานะองค์ความรู้มิติสังคมวัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ
ณ โรงแรมบัดดี้ โอเรียลทอล ริเวอร์ไซด์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 - 26 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา 02:00 - 05:30

การประชุมเชิงปฏิบัติการ“ทบทวนสถานะองค์ความรู้มิติสังคมวัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ” 
Consultative Meeting 1st 2016

                         
 


       สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัด
การประชุมเชิงปฏิบัติการ “ทบทวนสถานะองค์ความรู้มิติสังคมวัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ” ขึ้นในระหว่างวันที่ 24 - 26 กุมภาพันธ์ 2559 ณ โรงแรมบัดดี้ โอเรียลทอล ริเวอร์ไซด์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เพื่อเชิญชวนให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงานทั้งในหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ 4 ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ แอลกอฮอล์ บุหรี่ ยาเสพติด และอุบัติเหตุบนถนน มาร่วมทบทวนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่าปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมสุขภาพทั้ง 4 ปัจจัยเสี่ยงมีมิติทางสังคมวัฒนธรรมเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างไรบ้าง รวมทั้งเพื่อค้นหาช่องว่างความรู้และประเด็นหัวข้อการศึกษาวิจัยระยะยาวในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมิติทางสังคมวัฒนธรรมของปัจจัยเสี่ยงสุขภาพทั้ง 4 ปัจจัยเสี่ยงต่อไป 

       จากการทบทวนองค์ความรู้จากงานศึกษาวิจัยและร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญของศูนย์วิจัยที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงสุขภาพทั้ง 4 ปัจจัยเสี่ยงข้างต้น แผนงานวัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ (Culture and Health Risks) สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) พบว่า การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงสุขภาพและพฤติกรรมทางสังคมที่ผู้คนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงสุขภาพทั้ง 4 ปัจจัยเสี่ยงนี้ ตั้งอยู่บนระเบียบวิธีการศึกษาเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นแนวทางการวิจัยที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลของปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพที่สามารถวัดค่าคำนวณออกมาเป็นตัวเลขและวิเคราะห์ทางสถิติเป็นหลัก หรือการศึกษาปัจจัยเสี่ยงสุขภาพที่มีมุมมองต่อ “ความเสี่ยงสุขภาพ” ว่าเป็น “ความจริงทางวิทยาศาสตร์” (Scientific fact) ส่งผลให้ละเลยการศึกษาวิจัยปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพในมิติสังคมวัฒนธรรมที่เป็น “ความจริงทางสังคม” ที่แม้ในบางกรณีจะไม่สามารถคำนวณวัดค่าออกมาในเชิงปริมาณ แต่สามารถอธิบายได้ภายใต้บริบทโลกทัศน์วัฒนธรรมท้องถิ่น และพบว่าตัวแปรมิติทางสังคมวัฒนธรรมมักได้รับการพิจารณานำมาประกอบการออกมตราการและนโยบายหลังสุดหรือน้อย



       การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ภายใต้การดำเนินงานของแผนงานวัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ (Culture and Health Risks) ให้ความสนใจต่อมิติทางสังคมวัฒนธรรมของความเสี่ยงสุขภาพ ออกเป็น 2 มิติ คือ 1) วัฒนธรรมของชาวบ้าน (Lay culture) เช่น มุมมองและการแสดงออกของชาวบ้านหรือกลุ่มวัฒนธรรมย่อย (Sub-culture) ที่มีต่อความหมายของความเสี่ยงสุขภาพและมาตรการต่างๆ มิติเพศสภาพ (ความเป็นชาย/หญิง) ในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพ เป็นต้น และ 2) วัฒนธรรมขององค์กร (Professional culture) เช่น วัฒนธรรมราชการและวัฒนธรรมการทำงานขององค์กรภาคประชาสังคม ที่ส่งผลต่อการกำหนดมาตรการเพื่อการควบคุมป้องกันปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ เป็นต้น  

       สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) มีเป้าหมายว่า ผลลัพธ์ที่ได้จากงานประชุมครั้งนี้และกิจกรรมต่างๆ ที่จะดำเนินการของแผนงานวัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ จะมีประโยชน์ช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายและเจ้าหน้าที่สุขภาพที่ทำงานควบคุมป้องกันปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ มีมุมมองที่กว้างขึ้นในการทำงานและมีความละเอียดอ่อนในการออกมาตรการหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพของผู้คน โดยเฉพาะมาตรการที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานการเคารพความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละวัฒนธรรม 

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

** ดาวน์โหลดบทความประกอบการประชุมฯ Click
** ดาวน์โหลดสไลด์ประกอบการบรรยายของวิทยากรในงานประชุมฯ Click
** Booklet วัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ Click
** ติดตามกิจกรรมของแผนงานและร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ Facebook: Culture and Health Risks

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
E-Mail

รหัสผ่าน

จดจำการล๊อคอิน

สมัครสมาชิก ลืมรหัสผ่าน