รถเข็น (0 ชิ้น)
 
"นโยบายสาธารณะของไทย กับ ปัญหาประชาธิปไตยร่วมสมัยในยุคปัจจุบัน"

เขียนโดย suksala
พุธ 11 ธันวาคม 2556 @ 04:18


สนทนาติดตามนโยบายสาธารณะ ตามธรรมนูญสุขภาพ 2550 
"นโยบายสาธารณะของไทย กับ ปัญหาประชาธิปไตยร่วมสมัยในยุคปัจจุบัน" 

เป็นการประชุมร่วมระหว่าง สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) และ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2556 ณ ห้องประชุมสานใจ 2 อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ที่ผ่านมา

 

"เมื่อประชาธิปไตยถูกตั้งคำถามจากหลายมุมมอง ได้มีการเสนอวิธีคิดเพื่อให้ “ความเป็นประชาธิปไตย” มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น 
เนื่องจากประชาธิปไตยแบบตัวแทนได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากยิ่งขึ้น กระแสวิธีคิดแบบประชาธิปไตยใหม่นี้ ไม่ได้มีเฉพาะแต่สังคมไทย 
แต่กลายเป็นกระแสไปทั่วโลก จากผลพวงของการสิ้นสุดยุคสงครามเย็น การขยายตัวของพื้นที่สาธารณะ 
    
การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางใหม่ในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สื่อทางสังคมของโลกไร้พรมแดนมีส่วนทำให้การเมืองเปลี่ยนรูปโฉม 
ความขัดแย้งทางการเมืองขยายตัวมากขึ้น และกระบวนการเชิงนโยบายมีรูปแบบที่เป็นทางการมากเกินไป
    
รูปแบบที่สะท้อนความหมายของประชาธิปไตยมีรูปธรรมที่หลากหลาย อาทิ vote-centric หรือคือการเอาชนะคะคานด้วยการยกมือ 
ในขณะที่การถกแถลงกันเฉพาะในหมู่ผู้เชี่ยวชาญ หรือ expert-centric ในลักษณะของการจำกัดแวดวง และการเมืองของการถกแถลง 
อาศัยการพูดคุยถกเถียง ทำความเข้าใจความแตกต่างที่มีอยู่ จาก talk-centric ได้กลายเป็นที่มาของประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรอง (deliberative) โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากพลังทางวิชาการ พลังทางสังคม และพลังทางการเมือง ซึ่งในแต่ละภาคส่วนศักยภาพและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน
 
สมัชชาทำหน้าที่เป็นการประสานงาน เพื่อให้เกิดการถกแถลงในรูปแบบที่เป็นทางการ แม้จะได้รับการตั้งคำถามมากมายจากการทำงาน 6 ปีที่ผ่านมาของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ แต่การสถาปนาการพูดคุยด้วยการใช้สติปัญญาท่ามกลางความแตกต่างทางความคิดของทุกภาคส่วน ประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรอง จึงเป็นไปไม่ใช่เพื่อเป้าประสงค์เชิงนโยบายเพียงอย่างเดียว 
 
ข้อเสนอแนะเพื่อลดข้อจำกัดดังกล่าวมา  คือ การสร้างรูปแบบของการถกแถลงและไตร่ตรองร่วมกัน ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น 
อาทิ ลูกขุนเสวนา โพลล์เสวนา ประชาเสวนา หรือมีการจัดประสานงานเพื่อการสนทนากับองค์กรต่างๆ และใช้สื่อทางเลือกหรือ Social media
ให้มากยิ่งขึ้น ผสมผสานรูปแบบของประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรอง (deliberative) กับการสนทนาอย่างตั้งใจและรับฟังผู้อื่นมากยิ่งขึ้น (dialogue) 
 
ในเรื่องการขับเคลื่อนต้องมีการทบทวนว่ายุทธศาสตร์การขับเคลื่อนในแต่ละประเด็นจะเป็นการเน้นผลลัพธ์ระยะสั้น (เคลื่อนเพื่อผลในทางปฏิบัติ) หรือเน้นผลระยะยาวเพื่อสร้างความเข้มแข็งในภาคพลเมือง (เน้นเครือข่ายและการรู้เท่าทัน) มีการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างมียุทธศาสตร์ การพัฒนารูปแบบการติดตาม โดยเน้นต้นแบบที่ขับเคลื่อนอย่างได้ผล และสร้างกลไกความรู้สึกรับผิดชอบ (accountability) และการวิเคราะห์ว่าในแต่ละประเด็นควรมีจุดคานงัดจุดใดที่ทำให้การเคลื่อนไหวประสบความสำเร็จ เพื่อสะสมกรณีตัวอย่างเชิงปริมาณของความสำเร็จ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมในระยะยาว

 


*********************************************




1

ภาพประชุมวิชาการครั้งประวัติศาสตร์ ประจำปี 2558
ภาพมอบรางวัล เรื่องเล่างานบันดาลใจ 2558
ภาพการประชุมวิชาการ สังคมและสุขภาพ 2557
พิธีไหว้ครูแพทย์แผนไทยประจำปี 2557
ดูทั้งหมด »
E-Mail

รหัสผ่าน

จดจำการล๊อคอิน

สมัครสมาชิก ลืมรหัสผ่าน